ECT_knowledge

1. Message Private Matters Instead of Posting On Wall
ควรใช้วิธีส่งข้อความส่วนตัวทางแมสแสจไม่ใช่การโพสบนวอลล์
เช่น
เราฝากน้องซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเข้าบ้าน ก็โพสต์ผ่านวอลของตนเอง หารู้ไม่ว่าเพื่อนๆ ของคุณและของน้องๆ ก็จะเป็นความเป็นไปส่วนตัวของครอบครัวเราไปหมด เรื่องแค่นี้ โทรศัพท์คุยกันจะดีกว่าไหมคะ
อีกอย่าง คนบางคนไปทำอะไรมาก็ชอบมาแชร์ให้เพื่อนๆ รู้ แม้แต่เรื่องส่วนตัวมากๆ ก็เอามาประกาศในที่สาธารณะ บางทีเรื่องที่เราเห็นตลกขบขัน เช่น รูปงานปาร์ตี้เมื่อคืนที่มีเพื่อนทำท่าแปลกๆ หลุดโลก แต่เมื่อเราเอารูปพฤติกรรมเหล่านั้นที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเพื่อนมาประกาศ เพื่อนอาจไม่พอใจก็ได้ จะโพสรูปใครต้องขออนุญาตคนที่เกี่ยวข้องก่อน จะปลอดภัย และเป็นการให้เกียรติกันด้วย
"Best to keep these conversationsbehind closed doors in Facebook Messaging."
Keep behind closed  2. Be Mindful Of What You Post
คิดให้ดีว่าสิ่งที่เราโพสจะทำให้คนอื่นคิดมากหรือไม่
[บางทีถ้าเราบ่นหรืออัพอะไรไปลอยๆ เราเองไม่ได้มีเจตนาอะไรแต่คนอ่านนั้นอาจจะคิดต่างไปจากเรา อาจคิดว่าไปว่าเราโพสว่ากระทบเขาหรือเปล่า เช่น เราแสดงความเห็นเกี่ยวกับโฆษณาที่หลอกให้ซื้อสิ่งของต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าTV Direct หรือสินคาขายตรงต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้บางคนทำเป็นอาชีพเสริม บางคนเขาขายของในเว็บอยู่แล้ว เขาก็อาจเข้าใจผิดก็ได้
What you may not realize is that some of your friends in the advertising industry could see your status in their newsfeed. It’s a general statement, but they might think you are targeting them. Of course, it’s not going to be any fun if you’re going to consider all the possible misinterpretations before you post anything, but just bemindful of it.

you are targetingthem ตั้งใจโจมตีกลุ่มคนนั้นๆ
just be mindful of it ใส่ใจ หรือคิดให้ดี
เพื่อนบางคนมาอ่านเห็นอาจคิดว่าเราตั้งใจโพสว่าเขาหรือเปล่า ดังนั้นจะโพสอะไรก็ไตร่ตรองให้ถ้วนถี่นะคะ
3. Call Rather Than Post Personal News
ใช้โทรศัพท์ในการติดต่อข่าวสำคัญ อย่าประกาศบนวอลล์
เช่น ข่าวการเสียชีวิตคนในครอบครัว เชิญไปงานสำคัญ เรื่องสำคัญ การนัดหมายเป็นทางการต่างๆ
This isn’t just Facebook etiquette; it’s social etiquette or even common sense. If you need to inform your friends or your family about some important and personal news (e.g. death in the family), don’t declare it out in the public domain. Facebook is a social networking site; it’s supposed to be public. This means that people can know what hahappened.
สิ่งนี้ไม่ใช่แค่มารยาทออนไลน์ แต่เป็นมารยาททางสังคมที่ต้องใช้สามัญสำนึก เช่น หากมีคนในครอบครัวเสีย การแสดงความเสียใจ ควรจะบอกกันด้วยวาจาดีกว่า การพูดจะดูจริงใจมากกว่าการทิ้งข้อความ เรื่องนี้เป็นมารยาทสังคมที่พึงกระทำอยู่แล้ว เช่น เราอยากจะบอกเลิกกับใครก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะบอกโดนการส่งข้อความ หรือการโทรศัพท์
The other reason not to post iscourtesy. It’s the same reason why you shouldn’t use SMS (or even the phone) to break up with someone. It’s rude and insincere to break important news, be it good or bad ones, without having some form of genuine communication through voice tones and body languages.
It’s rude and insincere to break important news
เป็นการเสียมารยาทและไม่จริงใจในการบอกข่าวสำคัญผ่านเฟสบุ๊ค

4. Avoid Posting Comments On Every Postอย่าโพสคอมเมนต์บ่อยเกินไป
สมมติเรามีเพื่อนอยู่สองสามคนที่เราชอบคอมเมนต์กันไปมา แต่ก็ควรจะเว้นระยะให้หายใจกันบ้าง ไม่ใช่ว่าเพื่อนทำอะไรเราก็มีความเห็นไปทุกอย่าง เดี๋ยวเขาจะว่าเราสะกดรอยตามเขาอยู่นะคะ
If you’re stalking your friend, leave it at that. Don’t make it a habit to make some comment on everything your friends post or they’ll start to get suspicious. Even if you say with all honesty that you are not stalking them, it’s not going to be easy for them to believe that their status updates always appear on your newsfeed.
Stalking คอยตาม เหมือนพวกโรคจิต ตามดูทุกฝีก้าว
It’s open secret that everyone checks out their friends’ profile every now and then, but to comment on everything is to admit that you are constantly checking out on them. What is even worse is that your friend’s friends might notice as well, seeing that you are a ‘regular’ commenter. If you don’t wish to be labeled a pest, try to limit your comments somewhat.
checking out on คอยตรวจตรา ตรวจสอบว่าทำอะไรอยู่
labeled a pest ถูกตราหน้าว่าเป็นตัวน่ารำคาญ

5. Be Careful Of Your Toneให้ระวังน้ำเสียงของข้อความ
เนื่องจากการสื่อสารในเฟสบุ๊คนั้นคือการส่งข้อความตัวหนังสือเสียเป็นส่วนมาก ดังนั้นภาษาที่เราใช้บางทีอาจจะออกเชิงเสียดสีโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตามสามารถทำให้ดูเป็นมิตรขึ้นได้โดยการใช้ Emoticonsพวกหน้ายิ้มต่างๆ ช่วยทำให้น่าอ่านมากขึ้นค่ะ ^_^
As with all other online communication, communicating in Facebook is mostly textual. We can neither hear the voice tone nor see the body language when the other person ‘speaks’. In other words, it’s easy for someone to think you are being sarcastic when you are not, or misunderstand you in any other manner for that matter. To complicate things, everyone has their own typing style.

One way we can compensate for the lack of cues is to use emoticons. It’s pretty limited, but experience has taught me that a simple smiley face after a sentence can do wonders by neutralizing any potential tension. Smile and the whole world smiles with you :)


Five Don’ts: สิ่งที่ไม่ควรทำห้าประการ
1. Make Friend Requests To Strangers
อย่าขอเป็นเพื่อนกับคนที่ไม่รู้จักโดยตรง หรือเคยไม่เคยเจอหน้า พุดคุย

If you wish to add someone for some valid reason, like to get to know this person with someintroduction or through a mutual friend.
หากอย่างเป็นเพื่อนกับใครจริงๆ ขอให้ผ่านการแนะนำจากเพื่อนสู่เพื่อนอีกทีจะดูมีมารยาทกว่า

2. Tag Your Friends In‘Unglam’ Shots
แท็กรูปเพื่อนตอนที่ดูไม่ดี โดยเฉพาะเพื่อนผู้หญิง การโพสรูปที่ไม่สวยเป็นความผิดพลาดร้ายแรง

Guys may take it lightly when they are tagged in photos that look as if they just woke up from the bed, thinking that it’s a joke pulled off by their friends. When it comes to gals though, appearing ‘unglam’ means a lot more to them. Of course, this applies to some guys as well. What you need to take from this rule is to be sensitive of who you might be tagging in photos, especially those shots which are obviously awfully taken.
Unglam(orous) ดูไม่ดี
A joke pulled off by friends เรื่องตลกที่เพื่อนจะเข้ามาช่วยกันฮา ช่วยกันขำ

3. Overshare Yourself
อย่าอัพเดทสถานะของตนเองบ่อยเกินไป และเลือกแชร์เฉพาะสิ่งที่น่าสนใจ

Checking out the updates on your newsfeed, you see the same friend updating his status over and over again. Not any insightful ones, but just posts about what he’s doing every ten minutes. How exciting. You decide to hide his posts.
หากเราโพสไร้สาระบ่อยๆ ในที่สุดคนอ่านก็จะซ่อนสิ่งที่เราโพสไปเพราะเขาไม่อยากอ่านอะไรที่มันน่ารำคาญเป็นประจำ แม้แต่บางคน ปวดเข้าห้องน้ำก็โพส
Spice up your status updates a little. Instead of telling your friends you’re in the can taking a leak, share something interesting about yourself.
In the can taking a leak เข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะ (สถานะแบบนี้ กิจธุระส่วนตัวมากๆ อย่าโพสให้เป็นการประเจิดประเจ้อเลยค่ะ)
Spice up ทำให้น่าสนใจ มีสีสัน
4. Vent About Your work
การบ่นเกี่ยวกับเรื่องงาน อาจทำให้ตนเองเดือดร้อนได้
อย่าคิดว่าเราบ่นแต่ในหมู่เพื่อน เพื่อนเราไว้ใจได้ เรื่องนี้หลายคนพลาดและทำให้มีปัญหาในการทำงานมาแล้ว คุณจะไว้ใจได้อย่างไรว่าเพื่อนคนใดคนหนึ่งของคุณจะไม่หักหลัง คัดลอกข้อความของคุณไปบอกเจ้านาย

Facebook is a double-edged sword when it comes to its social networking capability. Even with your most stringent privacy settings, there’s still a risk that what you post can reach people you wouldn’t want it to reach, and your co-workers and boss are the last people you want to mess with. So, just play safe and leave your venting to somewhere private.
แม้ว่าบางคนจะตั้งความเป็นส่วนตัวไว้สูงสุดแต่บางทีอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเอาข้อความส่วนตัวของเราออกไปบอกชาวบ้านทราบ ทีนี้ละเป็นเรื่องใหญ่

เพื่อนที่กลายเป็นศัตรูเขาเรียกว่าFrenemy

double-edged sword ดาบสองคม
Vent คือ บ่น การระบายความรู้สึก เหมือนปล่อยระบายอากาศ ระบายควัน ในที่นี้คือช่องทางที่ระบายความอัดอั้นตันใจทางเฟสบุ๊คนั่นเอง บางคนบ่นเจ้านาย บ่นเพื่อนร่วมงาน หรือบ่นเรื่องครอบครัว มันไม่เป็นผลดีต่อตนเองเท่าไหร่นัก
5. Post Chain Status Updates โพสเรื่องที่ส่งต่อกันมาเป็นทอดๆ เหมือนอีเมลลูกโซ่
Remember those chain e-mails that demand you to forward to all of your friends or you’ll die a horrible, horrible death? Well, Facebook has a similar kind of chain, but usually for a good cause. Someone first post a status update about a social cause, encouraging those who read it to post the status too, so that their friends will get to read it and post it as well. This chain thus spread the cause, raising public awareness.
The intention here is right, but sometimes too much of a good thing isn’t good. When you see your newsfeed updates filled with the same status, you get annoyed instead, and you associate your negative emotion to that social cause.
พวกชอบแท็กโฆษณาทั้งหลายจะทำให้คนอื่นรำคาญและในที่สุดคุณก็จะถูกunfreind/defreind ทั้งทางเฟสบุ๊คและในโลกความเป็นจริง เพราะคุณทำตัวน่ารำคาญ ทั้งกรณีที่ขอบริจาคช่วยเหลือทั้งหลาย คุณอาจทำให้เพื่อนโดนหลอกก็ได้ คนที่อยู่ในรูปน่าสงสารนั้นอาจไม่มีจริง หรือได้รับการช่วยเหลือไปนานแล้ว

**สุดท้าย สำคัญมาก

Flame Others
วิพากษ์วิจารณ์หรือ แสดงความขัดแย้งกับผู้อื่นกันในที่สาธารณะ
การมีเรื่องขัดใจกับใครควรแก้ปัญหาตรงไปตรงมา การให้ร้ายผู้อื่น พูดถึงข้อเสียของผู้อื่น ท้ายที่สุดคือกระจกเงาสะท้อนตัวคุณนั่นเอง

Everyone is entitled to state their own opinion on the free internet, so there’s no need to put anyone down just because you disagree (or worse, don’t like the person). Sometimes I even see people criticizing the comments of their friend’s friend who replied to the post, whom they don’t even know. It’s embarrassing not only to yourself, but to your friend as well.
In the spirit of good conversations, let’s keep this in mind in whatever communication we have online, in Facebook, forums, emails, etc. Don’t ruin it for everyone.

สรุปแล้ว คือ ไม่ว่าจะเป็นโลกออนไลน์หรือการเข้าสังคม เราก็ควรจะรักษามารยาทในการสื่อสารไว้ คิดก่อนโพสทุกครั้งนะคะ ด้วยความปรารถนาดี ^.^

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น